ชีวิตวิถี’ไหน’

PODCAST – ชีวิตวิถี’ไหน’
GroupM Thailand in collaboration with Marketing Oops!

ตอนพิเศษของ MarTech Podcast ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) และ Marketing Oops! จะนำไปสู่การสนทนาในเรื่อง ‘New Normal’ หรือ ‘วิถีชีวิตใหม่’ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา โดย คุณณีว มาวิจักขณ์ และ คุณแพน จรุงธนาภิบาล จะพาท่านผู้ฟังย้อนรอยกับไปความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และนำกลับมาตั้งเป็นคำถามว่าในอนาคตหลังจากนี้ ‘วิถีชีวิต’ ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปในทางไหนกันแน่


ความตื่นตัวต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ COVID-19 ของคนไทยเริ่มมีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยกราฟความสนใจและความตื่นตัวจะพุ่งขึ้นสูงสุดพร้อมกับการประกาศ พรก ฉุกเฉิน ที่นำมาสู่การใช้นโยบายต่าง ๆ เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคม การ Lockdown สถานที่สาธารณะต่าง ๆ หรือกระทั่งการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองถือเป็นตัวเร่งให้ประชาชนหรือผู้บริโภคชาวไทยต้องมีการปรับการใช้ชีวิตใหม่ จนมีการใช้คำว่า New Normal หรือ วิถีชีวิตใหม่ กันในวงกว้าง

3 ผลกระทบในภาพรวมจากการระบาดของไวรัสโควิท-19 ต่อคนไทย

การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป
สืบเนื่องมาจากนโยบายต่าง ๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความพยายามลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อประชาชนต้องออกไปยังพื้นที่สาธารณะ ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ แบบปกติทั้งที่เกี่ยวกับอาชีพการงาน หรือแม้กระทั่งชั้นเรียนต่างถูกแทนที่ด้วยการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ

กำลังซื้อและความกังวลเกี่ยวกับเงินในกระเป๋า
สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคลดลง การเก็บเงินไว้ใช้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้กลายมาเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคคำนึกถึงในลำดับแรก ๆ โดยพบว่าผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินใจที่จะซื้อแต่ของกินของใช้ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น
ในขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยจะกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับท้าย ๆ

ความตื่นตัวทางด้านสุขภาพและอนามัย
ผู้บริโภคมีการให้ความสนใจกับสินค้าที่ให้ความเชื่อมั่นทางด้านความปลอดภัยจากเชื้อทั้งภายในและภายนอกบ้านเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่นอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาด สบู่ เจลล้างมือ หรือแม้กระทั่งหน้ากากอนามัย

ถึงแม้ ‘วิถีชีวิตใหม่’ จะเป็นคำที่ถูกพูดถึงและมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลอย่างเต็มเวลา แต่จากการสังเกตพฤติกรรมของคนไทยพบว่าคนไทยจำนวนมากยังมีความ (คิดถึง) พยายามและขวนขยายที่จะกลับไปใช้วิถีชีวิตเดิม ๆ

พฤติกรรมการกลับไปหา Old Normal หรือชีวิตแบบเดิม ๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือในวันที่ทางรัฐได้เริ่มมาตรการผ่อนคลายในครั้งแรกเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมมีจำนวนมหาชนที่เดินทางหลั่งไหลไปต่อแถวซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในซูเปอร์มาเก็ต การแห่กันไปต่อแถวเพื่อเข้าไปยังห้างร้านต่าง ๆ จนห้างบางแห่งต้องมีการประกาศปิดไม่ให้มีคนเข้าไปใช้บริการเพิ่ม

ตัวอย่างอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความสงสัยสำหรับนักศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องของการปรับตัวไปมาของพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่าง New Normal หรือ Old Normal ก็คือ การเช็คอินบนโซเชียลในร้านกาแฟสวย ๆ การต่อแถวเข้าไปทานชาบูร้านดัง

จำนวนของคนที่ออกไปใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สามารถแสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นได้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติแล้ว

แต่ถ้าหากเรานำพฤติกรรมข้างต้นมาตั้งเป็นคำถามเพื่อวิเคราะห์และศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดีดตัวกลับมาสู่วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ จะพบว่าสถานการณ์และสภาวะเศรษฐกิจได้นำพาความเครียดและความกลัวที่จะสูญเสียอาชีพการงานซึ่งจะนำมาสู่ความไม่มั่นคงทางการเงินในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ดังนั้นด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นประชาชนกลับออกมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ

เรื่องของความเครียดจากการเก็บตัวและการทำงานอยู่ที่บ้านก็เป็นปัจจัยที่เร่งให้คนหาทางออกมาเพื่อระบายความกดดันต่าง ๆ – แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้บริโภคจะหมดความกลัวหรือกังวลต่อการระบาดของเชื้อไวรัส

ความไม่พร้อมของระบบต่าง ๆ ที่จะผลักดันให้สังคมกลายเป็น New Normal ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้มีกระแสเรียกร้องให้กลับมาสู่วิถีชีวิตแบบเก่า เช่น ระบบการศึกษาออนไลน์ซึ่งเป็นระบบวิดีโอที่ชาวโซเชียลให้ความเห็นอย่างรุนแรงถึงคุณภาพจากต้นทาง หรือแม้กระทั่งการที่ครอบครับของนักเรียน/นักศึกษายังไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อแทปเล็ตหรือสมาร์ทโพนสำหรับการเรียนออนไลน์ได้

โอกาสสำหรับนักการตลาดในช่วงพฤติกรรม วิถีชีวิตไหน

เมื่อผู้บริโภคมีความกังวลที่จะใช้เงิน – ช่วงเงินเดือนออกคือโอกาสทอง ผ่านการผสมผสานการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี อินไซด์ และกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้าง Demand ให้กับผู้บริโภค

เมื่อผู้บริโภคเริ่มมีความเคยชินจากการสั่งของออนไลน์ – การเอาจริงในด้านการขนส่งหรือดิลิเวอรี่

เมื่อผู้บริโภคไม่สามารถออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้เหมือนเดิม – การกลับมามองกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Domestic Tourists ที่สามารถออกไปเที่ยวได้บ่อย ๆ ทุกสุดสัปดาห์แทนที่จะเป็น Inbound Tourists ที่มาอยู่นาน ๆ และใช้เงินทีละมาก ๆ อย่างแต่ก่อน

เนื่องจากสถานการณ์ของ Coronavirus หรือ COVID-19 นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องจับตามองจากสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในบ้านเราและในต่างประเทศ ดังนั้นนักโฆษณาและนักการตลาดจะต้องพร้อมรับที่จะปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ของตัวเองตามสถานการณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แทบจะตลอดเวลา

The Latest