GroupM

GroupM Partners With Lazada

GroupM, the media investment group of WPP, announced an industry-leading partnership with Lazada Group – Southeast Asia’s largest e-Commerce platform – covering all six Southeast Asia markets where Lazada Group has operations. GroupM has been designaged a Lazada Preferred Partner and gives GroupM clients preferential access and pricing for Lazada Group marketing assets. In addition, Lazada will empower […]

Read More
Trends & Insight GroupM

PODCAST – ชีวิตของคนช่างเสิร์ช

สำหรับตอนที่ 12 ของ MarTech Podcast ระหว่าง กรุ๊ปเอ็ม และ Marketing Oops! คุณณีว มาวิจักขณ์ และ คุณแพน จรุงธนาภิบาล จะนำผู้ฟัง (และผู้อ่าน) ไปสู่อินไซต์และโลกของคนช่างหาหรือ การเสิร์ช ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมากับอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม จนเราสามารถเรียกได้ว่าพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลหรือการเสิร์ช (Search) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคทั้งคนกรุงเทพและต่างจังหวัด การเสิร์ชหาข้อมูลนับได้ว่าเป็นจุดตั้งต้นของการใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการดูข่าว หรือการหาความบันเทิงต่าง ๆ จนหลาย ๆ ครั้งเรามักจะลืมไปว่าการเสิรช์ในทุกวันนี้นั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับ Search Engine อย่าง Google อีกแล้ว หากแต่การเสิร์ชนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาผ่านการพิมพ์คำหรือข้อความบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook Instragram นี่คือจุดที่ทำให้เราสามารถพูดได้ว่าผู้บริโภคในทุกวันนี้ได้เปลี่ยนสภาพจากที่เคยเป็นฝ่ายรับสารเพียงอย่างเดียวเป็นฝ่ายรุกหรือเป็นผู้ที่วิ่งเข้าไปหาในสิ่งที่เขาสนใจ และน่าจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับนักการตลาดที่จะต้องเข้าใจถึงอินไซด์สำหรับผู้บริโภคในยุคหลังจาก 4.0 ที่ว่าจากการที่ภาพรวมของธุรกิจสื่อที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกรับข่าวสารและหาข่าวสารได้ด้วยตนเอง และผู้บริโภคก็จะมีความเชื่อมั่น (และความฟินในภาษาชาวบ้าน) ในข้อมูลที่หาได้ด้วยตัวเองมากกว่าข้อมูลที่ถูกพูดออกมาจากเจ้าของสินค้าโดยตรง  4 ประเภทของพฤติกรรมการเสิร์ช การเสิร์ชเพื่อหาข้อมูลการบริการ การเสิร์ชเพื่อหาข่าวสาร การเสิร์ชเพื่อหาความบันเทิง การเสิร์ชเพื่อหาความรู้ สิ่งที่น่าสังเกตคือผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถปรับการเสิร์ชจากการพิมพ์บน Search Bar มาเป็นการหาข้อมูลในสิ่งที่ตัวเองสนใจผ่านแฮชแทคบน Twitter มากขึ้น เจาะช่องทางหลักการเสิร์ชของคนไทย ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสาร  โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter ได้กลายมาเป็นสองช่องทางหลักในการหาข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสาร […]

Read More
Trends & Insight Wavemaker

เวฟเมคเกอร์ วิเคราะห์ทางรอดอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เวฟเมคเกอร์ (สำนักงานใหญ่ – ลอนดอน) ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลกผ่านบทความ Week In Review ทั้งนี้ เวฟเมคเกอร์ (ประเทศไทย) ได้จับมือกับ กรุ๊ปเอ็ม ร่วมกันศึกษาต่อและยอดการวิเคราะห์นี้ในบริบทของประเทศไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกถดถอยลงไปมาก การดำเนินการทางธุรกิจของบริษัททั้งเล็กและใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศมีการหยุดชะงัก เนื่องจากมาตรการในการควบคุมโรคระบาดของแต่ละประเทศที่เพิ่มความรัดกุมและเป็นสาเหตุที่ทำให้สายงานด้านการผลิตไม่สามารถที่จะนำเข้าชิ้นส่วนและเปิดโรงงานการผลิตได้อย่างปกติ มีการคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีแรก ความสามารถในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอย่างสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะลดลงไปถึง 30% ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่ายที่มากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงที่มาจากอุปสงค์และอุปทานข้างต้นนี้มีผลโดยตรงต่อการวางแผนในอนาคตของแบรนด์และนักการตลาด โดย เวฟเมคเกอร์ ได้ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับโลกในช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเน้นไปในเรื่องของใช้ส่วนตัว อย่างโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ณัฐดนัย ตระการวัฒนวงศ์ เจ้าหน้าที่แผนกพัฒนาและการตลาดของ กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ได้รวบรวมข้อมูลและทำการสรุปผลสำรวจของ เวฟเมคเกอร์ ในบริบทของโลกออกมาได้เป็น 3 ส่วน คือ ด้านธุรกิจ ด้านผู้บริโภค และด้านแบรนด์ ดังนี้ ด้านธุรกิจ การเลื่อนการจัดการแข่งขันของสปอร์ทอีเว้นท์หรือกีฬาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างโอลิมปิก – ที่มีการโฆษณาและสื่อสารว่าจะมาพร้อมการถ่ายทอดสดด้วยความละเอียดขั้นสูงในระบบ 8K โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้ในช่วงนี้เนื่องจากผู้บริโภคขาดปัจจัยดึงดูดในการอัพเกรดสินค้าประเภทโทรทัศน์หรือทีวีภายในบ้านขึ้นเป็นสินค้ารุ่นใหม่ ผลการวิเคราะห์จาก GSMA โดยสังเกตจากการที่บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเลื่อนการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่รองรับระบบ 5G ออกไป ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ 5G ต้องเลื่อนเวลาการออกสู่ตลาดและมีผลทำให้ราคาของสินค้าอาจจะต้องถูกปรับลง ทำให้มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะปรับการวางแผนการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ด้านผู้บริโภค ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาแพลตฟอร์มดิจิทัลได้แทบจะกลายเป็นหนทางเดียวที่ผู้บริโภคทั่วโลกจะสามารถทำงาน ได้รับความรู้ และความบันเทิง ในเวลาที่ถูกกักตัวอยู่กับบ้าน ส่งผลให้เส้นกั้นระหว่างความเชื่อและความเคยชินในเรื่องของ […]

Read More
GroupM

ทำความรู้จัก 6 เทรนด์สร้าง “ฮีโร่” แบรนด์กับวิกฤตโควิด-19

กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) กลุ่มผู้นำเอเยนซี่ด้านการบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) ได้ทำการรวบรวมกรณีศึกษารวมถึงตัวอย่างกิจกรรมและการพัฒนากลยุทธ์การขายที่แบรนด์ชั้นนำในประเทศไทยได้จัดทำขึ้นผ่านช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิท-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาข่าวและวิกฤตการระบาดของโคโรน่าไวรัสในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ด้วยปัจจัยที่มาจากทั้งตัวผู้บริโภคเอง ไปจนถึงมาตรการที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันประกาศออกมาเพื่อรณรงค์ ยับยั้ง และป้องกันการแพร่เชื้อภายในประเทศ โดยหากขยายความและให้ตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยข้างต้น พบว่าตัวผู้บริโภคเองมีระดับความหวาดกลัวต่อข่าวและสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาครัฐก็มีการใช้ พรก. ฉุกเฉินและมาตรการต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้ภาคเอกชนร่วมทำการรณรงค์ให้พนักงานทำงานและเก็บตัวอยู่กับบ้าน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคใช้ชีวิตกันลำบากขึ้นด้วยข้อจำกัดทางด้านการเดินทาง การปรับตัวในเรื่องของชีวิตการทำงาน รวมไปถึงการหาวิธีปัองกันตัวเองให้ปลอดภัย ผลกระทบนี้ยังได้ลามไปถึงหน่วยงานและผู้ให้บริการสาธารณะ อย่างเช่น แพทย์และพยาบาล ที่ต้องทำงานหนักขึ้นกว่าปกติหลายเท่า โดยหลาย ๆ ท่านถึงขั้นไม่สามารถกลับบ้านไปหาครอบครัวได้เลย ทั้งนี้แผนกพัฒนาและการตลาดของ กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ได้ทำการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคและวิธีทำการสื่อสารของแบรนด์ต่าง ๆ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา โดยพบว่าภายใต้สถานการณ์ที่คนไทยกำลังมีลำบากและตึงเครียดจากภาวะโควิด-19 แบรนด์และนักการตลาดได้มีการเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการสื่อสาร โดยเริ่มที่จะนำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคและสังคม ทั้งทางกายและจิตใจ โดยจากการสังเกตเราสามารถแบ่งวิธีการเข้าหาผู้บริโภคและสังคมผ่านวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้เป็น 6 ประเภทหลัก ดังนี้ 01 แบรนด์ผู้พิทักษ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ภาระกิจที่สำคัญที่สุดสำหรับภาครัฐ (และทุก ๆ ฝ่าย) ในการพิชิตการระบาดของเชื้อ Coronavirus คือต้องป้องกันและลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ เราจะเห็นว่าหลากหลายแบรนด์สามารถปรับตัวเข้าสู่เป้าหมายนี้ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับคนไทยที่กำลังอยู่ในภาวะวิตกกังวลผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น การให้ความรู้ในเรื่องวิธีการป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ เพราะในภาวะที่สับสนข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้องเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเป็นอย่างมาก อีกหนึ่งสิ่งที่เราเห็นในเทรนด์นี้คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน เช่น การเพิ่มมาตรการรองรับในเรื่องความสะอาดและปลอดภัยให้เห็นเป็นรูปธรรม ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้บริโภคมีความตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าโอกาสที่จะลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการเก็บตัว โดยแบรนด์เองสามารถสนับสนุนเรื่องนี้ได้ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมือมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อสร้างทางเลือกให้คนที่เบื่อจากการอยู่บ้านสามารถเข้ามามีประสบการณ์กับแบรนด์หรือผู้บริโภคคนอื่น ๆ ในรูปแบบบริการทางออนไลน์ 02 ใครเดือดร้อน เราต้องช่วย แม้เราจะพูดกันตลอดเวลาว่าทุกคนคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ […]

Read More
Mindshare

มายด์แชร์ เผยข้อมูลการรับรู้ของผู้บริโภคไทยผ่าน COVID-19 TRACKER ฉบับที่ 2

มายด์แชร์ ประเทศไทย ผู้นำเอเยนซี่ด้านมีเดียระดับโลกในเครือ กรุ๊ปเอ็ม จัดทำการศึกษาเรื่องการรับรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยที่มีต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ในการศึกษาครั้งที่ 2 นี้ มายด์แชร์ ยังคงได้ทำผลสำรวจผ่านระบบออนไลน์ผ่านตัวแทนผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 911 คน ในระหว่างวันที่ 27 และ 38 เมษายน 2563 โดยผลสำรวจพบว่าความกังวลที่ผู้บริโภคมีต่อไวรัสโควิด-19ในภาพรวมนั้นมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจในรอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 62% ยังคงมีความวิตกกังวล โดยลงลงจาก 68% เมื่อเดือนมีนาคม 50% มีความกลัว เป็นตัวเลขที่ลดลงจาก 56% จากการสำรวจในครั้งก่อน 37% มีการเตรียมการรับมือ ซึ่งลดลงจากผลสำรวจในรอบที่แล้วที่มีผลอยู่ที่ 43% ทั้งนี้ยังพบอีกว่าผู้บริโภคส่วนมากมีอัตราการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นที่ 79% (จาก 68% ในเดือนมีนาคม) โดยการใช้งานหลักจะอยู่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (75%) และวิดีโอออนไลน์ (65%) เมื่อถามว่าสิ่งที่คนไทยคิดถึงมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 47% ระบุว่าคิดถึงการท่องเที่ยวและวันหยุดพักผ่อน ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากันกับผู้ที่ตอบว่าคิดถึงการออกไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้า โดยทั้งหมดเชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถกลับมาสู่สภาวะปกติได้ภายในช่วงระหว่าง 2 ถึง 6 เดือน   For more information, please contact: Lalit Kanavivatchai Lalit.Kanavivatchai@mindshareworld.com Jiraporn Pornpichetkul Jiraporn.Pornpichetkul@mindshareworld.com

Read More
Mindshare

มายด์แชร์ จับมือ เอเยนซี่ดับบลิวพีพีเผยงานวิจัย SOCIAL DISTANCING

3 เอเยนซี่ในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือเผยงานวิจัย SOCIAL DISTANCING และผลกระทบต่อพฤติกรรมคนไทย คันทาร์ อินไซท์ เกรย์เอ็นเจ ยูไนเต็ด และ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) 3 เอเยนซี่ชั้นนำในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) ร่วมมือจัดสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “SOCIAL DISTANCING” เผยงานจิวัยใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับวิกฤติของการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวทางสังคมและการตั้งมาตรการในเรื่องการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ กับผู้บริโภคชาวไทยตั้งแต่การเสพสื่อและเนื้อหา รวมไปถึงวิธีการจับจ่าย งานสัมมนาและการแถลงผลวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักการตลาดเข้าใจถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงสามารถตอบสนองและเข้าถึงผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมและทัศนคติที่ไม่เหมือนเดิมจากวิกฤติการณ์ โควิด-19 และสามารถนำแนวคิดไปปรับกลเพื่อให้แบรนด์สามารถสร้างแคมเปญหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตรงความคาดหวังในช่วงเวลาที่เหมาะสมผ่าน 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตหกรรมการสื่อสารทางการตลาด การวางแผนกลยุทธ์สื่อ และการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจาก 3 บริษัทของ ดับบลิวพีพี ดังต่อไปนี้ ดร.อาภาภัทร บุญรอด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คันทาร์ อินไซท์ ประเทศไทย – บริษัทผู้นำการวิจัยด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก คุณคณพร ฮัทชิสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เกรย์เอ็นเจ ยูไนเต็ด – ครีเอทีฟเอเยนซี่ชั้นนำที่ได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) – มีเดียเอเยนซี่ระดับแถวหน้าจากเครือ กรุ๊ปเอ็ม คุณพาโบล โกเมซ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล คันทาร์ อินไซท์ เอเชียเหนือ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แปซิฟิค คุณแมทธิว เฉิง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คันทาร์ […]

Read More
GroupM

Alumni Market: Connection เก่า – Opportunity ใหม่

สำหรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมากับปรากฎการณ์ LOCKDOWN ที่ผู้บริโภคไทยต่างพากันใช้ชีวิตไปกับการอัพเดทข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ตลอดทั้งวัน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำเดิมเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการออกไปไหนไม่ได้นี้เริ่มทำให้ผู้บริโภคหลาย ๆ คนเริ่มเกิดความเบื่อและมีความเครียดสะสมและเริ่มที่จะหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับตัวเองบนโลกโซเชียลผ่านกระแสการสร้างกลุ่มศิษย์เก่าของสถาบันการศึกษา (Alumni) บน Facebook การเกิดขึ้นของ Alumni Market/Marketplace หรือตลาดการค้าสำหรับศิษย์เก่ากลายเป็นคลื่นระลอกใหญ่บนโลกโซเชียลที่สามารถปลุกหัวใจของหลาย ๆ คนให้ได้กลับมาสนุกและเฮฮาอีกครั้ง   บรรดาศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนมัธยม รวมไปถึงบรรดานักกิจกรรมต่างพากันสร้างกลุ่มใน Facebook และเปิดให้เป็นตลาดเสรี โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาศิษย์เก่า (ที่อาจกำลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากวิกฤติไวรัสโคโรน่า) ได้มีโอกาสกลับมารวมตัวพร้อมทั้งโพสต์ขายสินค้าและบริการแบบหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะของกินของใช้ สัตว์เลี้ยง ไปจนถึงผลงานของบริษัทที่กำลังทำงานอยู่ เรียกได้ว่ามีขายกันแทบทุกอย่าง   สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Alumni Market(place) เหล่านี้คือแม้จุดประสงค์หลักในช่วงแรก ๆ จะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ศิษย์เก่าได้มีโอกาสทำการค้าขายในหมู่เพื่อนฝูงและพี่น้องร่วมสถาบันที่ได้รับผลกระทบหรือมีข้อจำกัดในการทำมาหาเลี้ยงชีพจากการ Lockdown   แต่ในช่วงระยะเวลาที่กลุ่มได้โตขึ้น (อย่างรวดเร็ว) การแลกเปลี่ยนจึงไม่จบเพียงแค่การซื้อขายกันเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว สังเกตได้ว่า Alumni Market(place) เหล่านี้ได้กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับเพื่อน ๆ และรุ่นพี่รุ่นน้องได้เข้าทักทายแนะนำตัว พูดคุย และต่อยอดไปถึงการเชียร์การขายกันอย่างสนุกสนาน จนเรียกได้ว่านี่คืองานคืนสู่เหย้าแบบกลาย ๆ   จากการสังเกต การเติบโตของจำนวนสมาชิกของแต่ละกรุ๊ปนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมากในระยะเวลาอันสั้น จากหลักสิบสู่หลักหมื่นหรือบางกลุ่มก็ขึ้นไปถึงหลักแสนภายในระยะเวลาไม่กี่วันเท่านั้น   […]

Read More
GroupM

GroupM Thailand’s POV on Coronavirus – Trends & Implications for Brands and Marketers

กรุ๊ปเอ็ม จับมือพันธมิตรเผยอินไซต์ผู้บริโภคไทยปรับตัวฝ่าวิกฤตโควิด-19 ผ่านบทความ GroupM TH’s POV ON CORONAVIRUS – Trends & Implication for Brand and Marketers สถานการณ์การระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระดับโลกซึ่งรวมถึงประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประไทย จากสถานการณ์นี้ กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย หรือ GroupM กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ รวมถึงพันธมิตรอย่าง คันทาร์ ผู้นำด้านการวิจัยและ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการสรุปภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับธุรกิจสินค้าและบริการในแต่ละหมวดหมู่ พร้อมนำเสนอข้อแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักโฆษณาและการตลาด เพื่อที่จะได้เข้าใจ เตรียมตัว และปรับแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผ่านบทความ Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers […]

Read More
Trends & Insight GroupM

LIVE LIKE A FRESH GRAD – เจาะอินไซท์ก้าวแรกของชีวิตเมื่อก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย

MarTech Podcast ในตอนที่ 11 นี้ คุณณีว มาวิจักขณ์ และ คุณแพน จรุงธนาภิบาล จากแผนกพัฒนาและการตลาดของ กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ที่จับมือร่วมกับ Marketing Oops! จะพาคุณไปรู้จักกับ อินไซท์ (Consumer Insights) ของน้อง ๆ ที่เพิ่งจบการศึกษา (หรือกำลังศึกษาอยู่ในช่วงสุดท้าย) จากรั้วมหาวิทยาลัย ในเรื่องของการใช้ชีวิตรวมถึงความคาดหวังจากชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา ชีวิตก้าวแรกหลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของคนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะสำหรับยุคไหน ๆ เพราะแทบจะทันทีที่บัณฑิตได้ก้าวออกจากรั้่วมหาวิทยาลัยพร้อมกับใบปริญาบัตรในมือ (หรือ Fresh Grad) เรียกได้ว่าแทบทุกคนจะพบกับความท้าทายชิ้นใหม่ที่เข้ามาสู่ชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการที่จะต้องค้นหาตัวตนหรือความต้องการที่แท้จริงของตัวเองให้เจอ สังคมใหม่ เพื่อนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบได้กับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในอีกรูปแบบหลังจากอยู่กับสถาบันการศึกษามาเกือบ 20 ปี 20 ปีของชีวิตภายในกรอบของการเป็นนักเรียน / นักศึกษา ภายใต้ระบบการศึกษาในประเทศไทยนักเรียน / นักศึกษาแต่ละคนจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 16 ปีในการเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย (ระบบ 4 ปี) ทั้งนี้ไม่รวมอีก 3 ปีการศึกษาในช่วงอนุบาล ความท้าทายที่สำคัญของนักเรียนไทยก็คือการที่จะต้องตัดสินใจและเตรียมตัวเพื่อที่จะเลือกเส้นทางเดินสำหรับอนาคตของตัวเองตั้งแต่อยู่ในช่วงที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อที่จะเลือกแผนการศึกษาในตอนที่เข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งจะอยู่ติดตัวไปจนจบระดับชั้นมัธยมปลาย ซึ่งในปัจจุบันสามารถจัดกลุ่มแผนการศึกษาหลัก ๆ ได้คือสายวิทยาศาสตร์ สายคณิต-ภาษา สายภาษาต่างประเทศและศิลปะ หรือสายการเรียนอื่น ๆ ตามความสามารถและความถนัดของแต่ละโรงเรียน แต่ทั้งนี้สำหรับนักเรียนที่ศึกษาอยู่ภายใต้ระบบก็เรียกได้ว่าเหมือนถูกตีกรอบกลาย ๆ อย่างต่อเนื่องว่าในระดับอุดมศึกษานักเรียนจะสามารถเลือกเรียนในคณะหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับแผนการศึกษาตอนมัธยมปลายได่อย่างไร เช่น นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ จะเลือกเรียนในสาขาทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ สถาปัตยกรรมศาสตร์ […]

Read More
GroupM

IGTV กับบทบาทใหม่ที่เป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับคอนเทนต์

IGTV ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2018 บนอินสตาแกรม (Instagram) เพื่อมุ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักของวิดีโอ โดยล่าสุดได้ออกฟีเจอร์โฆษณารูปแบบใหม่ที่เป็นแบบคั่นกลางระหว่างการรับชมวิดีโอ (In-stream) หลังจากมีการทดสอบในบางกลุ่มผู้ใช้งานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำหรับการปรับรูปแบบของ IGTV ในครั้งนี้พบว่ามีการขยายความยาวสูงสุดในการอัปโหลดวิดีโอจากเดิมที่ 1 นาทีขึ้นเป็น 10 นาที และสามารถขยายการรองรับความยาวได้สูงสุดถึง 60 นาทีสำหรับผู้ใช้ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก   แต่หนึ่งปัญหาสำคัญที่ IGTV กำลังประสบ คือการสร้างแรงจูงใจให้บรรดาผู้ผลิตคอนเทนต์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอื่น เช่น YouTube จะมีส่วนแบ่งรายได้จากกำไรในการโฆษณาอยู่ที่ 55% ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นโอกาสทองสำหรับ IGTV หากสามารถจัดให้มีความชัดเจนของนโยบายการแบ่งรายได้เช่นเดียวกับวิดีโอแพลตฟอร์มอื่น ๆ การเข้ามาของโฆษณาบน IGTV จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของเป็นสนามแจ้งเกิดให้แก่บรรดาผู้สร้างคอนเทนต์หน้าใหม่ ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการหารายได้จากส่วนแบ่งการโฆษณา   การออกฟีเจอร์ใหม่ในครั้งนี้มีนัยยะที่ชัดเจนว่าต่อจากนี้นอกเหนือจากการทำโฆษณาบนอินสตาแกรม หรือ IG แบบเดิมที่ถูกจำกับอยู่เพียงบน Feed และ Stories จะสามารถขยาดให้เกิดขึ้นได้บนทุกฟีเจอร์ของอินสตาแกรม และนี่คือการแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขยายส่วนแบ่งการตลาดของวิดีโอคอนเทนต์ที่มีสถานการณ์การแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ผ่านแพลตฟอร์มวิดิโอรูปแบบสั้นและแบบยาว   โดยที่แพลตฟอร์มวิดีโอรูปแบบสั้นที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคได้แก่ Snapchat และ TikTok ที่กำลังมาแรงในไทยจากการ […]

Read More