3 เอเยนซี่ในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือเผยงานวิจัย
SOCIAL DISTANCING และผลกระทบต่อพฤติกรรมคนไทย
คันทาร์ อินไซท์ เกรย์เอ็นเจ ยูไนเต็ด และ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) 3 เอเยนซี่ชั้นนำในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) ร่วมมือจัดสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “SOCIAL DISTANCING” เผยงานจิวัยใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับวิกฤติของการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวทางสังคมและการตั้งมาตรการในเรื่องการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ กับผู้บริโภคชาวไทยตั้งแต่การเสพสื่อและเนื้อหา รวมไปถึงวิธีการจับจ่าย
งานสัมมนาและการแถลงผลวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักการตลาดเข้าใจถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงสามารถตอบสนองและเข้าถึงผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมและทัศนคติที่ไม่เหมือนเดิมจากวิกฤติการณ์ โควิด-19 และสามารถนำแนวคิดไปปรับกลเพื่อให้แบรนด์สามารถสร้างแคมเปญหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตรงความคาดหวังในช่วงเวลาที่เหมาะสมผ่าน 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตหกรรมการสื่อสารทางการตลาด การวางแผนกลยุทธ์สื่อ และการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจาก 3 บริษัทของ ดับบลิวพีพี ดังต่อไปนี้
ดร.อาภาภัทร บุญรอด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คันทาร์ อินไซท์ ประเทศไทย – บริษัทผู้นำการวิจัยด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก
คุณคณพร ฮัทชิสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เกรย์เอ็นเจ ยูไนเต็ด – ครีเอทีฟเอเยนซี่ชั้นนำที่ได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) – มีเดียเอเยนซี่ระดับแถวหน้าจากเครือ กรุ๊ปเอ็ม
คุณพาโบล โกเมซ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล คันทาร์ อินไซท์ เอเชียเหนือ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แปซิฟิค
คุณแมทธิว เฉิง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คันทาร์ เวิร์ลพาแนล ประเทศไทย
คุณอีริค แทน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการลูกค้า คันทาร์ อินไซท์ ประเทศจีน
คุณสัตยา ราชู ผู้บริหารระดับสูงฝ่าย Engagement Excellence คันทาร์ อินไซท์ เอเชียเหนือ,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แปซิฟิค
งานวิจัยสื่อโซเชียลมีเดียโดยโดย คันทาร์ อินไซท์ ได้นำเสนอถึงวิวัฒนาการของพฤติกรรมการสื่อสารของผู้บริโภคชาวไทยตั้งแต่เริ่มการระบาดของโรคจนถึงปัจจุบัน
โดยในช่วงแรกของปี 2020 คนไทยเน้นในเรื่องของการตอบสนองต่อวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในระดับนานาชาติ ซึ่งมีเรื่องของการแสดงออกทางอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง และหลังจากที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการรณรงค์ต่าง ๆ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ พบว่าคนไทยมีการรักษาระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าจากตอนแรก ทำให้ประชาชนเริ่มพูดถึงเรื่องผลกระทบต่อชีวิตมากขึ้น โดย
► 77% ของคนไทยเชื่อว่าโควิด-19 มีผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
► 54% ของคนไทยเชื่อว่าโควิด-19 จะให้เศรษฐกิจถดถอย และกว่า 66% เริ่มมีการวางแผนทางการเงินที่รัดกุมขึ้น
► 59% ของคนไทยเชื่อว่าการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจต้องใช้เวลานาน ซึ่งผลของวิกฤติครั้งนี้จะกระทบต่อการว่างงานและธุรกิจขนาดเล็กและกลาง
อย่างไรก็ตามแม้คนไทยจะวิตกกังวลต่ออนาคต แต่ก็มีการเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนชีวิตตามข้อระวังต่าง ๆ
ด้านคุณ ปัทมวรรณ สถาพร จาก มายด์แชร์ (ประเทศไทย) ได้ทำการสรุปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยตั้งแต่เริ่มมีการประกาศปิดเมืองและการรักษาระยะห่างทางสังคมไว้ดังนี้
50% ของคนไทยทำการยกเลิกการเดินทางในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและกว่า 44% ของคนไทยเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านแทน ซึ่งทำการการเสพสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและสื่อนอกบ้านลดลง ในขณะที่การดูทีวีและสื่อดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ มายด์แชร์ พบว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคสื่อโทรทัศน์อยู่ที่ 2 ชั่วโมง 17นาที ต่อวัน โดยผู้บริโภคเลือกติดตามคอนเทนต์ประเภทข่าวมากที่สุดเพื่ออัพเดทสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ และรองลงมาเป็นรายการบันเทิง
ในด้านทัศนคติพบว่า 54% ของคนไทยมีความเชื่อว่าเศรษฐกิจจะมีภาวะที่ถดถอยจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ 59% ของคนไทยเชื่อว่าการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและจะส่งผลกระทบต่อการอัตราการว่างงานและธุรกิจขนาดเล็กและกลาง โดยที่กว่า 66% เริ่มมีการวางแผนทางการเงินที่รัดกุมขึ้น
คนไทยมีพฤติกรรมซื้อของออนไลน์มากขึ้น ทั้งในส่วนของอาหารและการบริการ โดยกว่า 41% มีการสั่งอาหารส่งถึงบ้านในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี 92% ของผู้บริโภคยังคงอยากให้แบรนด์มีโฆษณาอยู่ต่อไป แต่แบรนด์ยังคงต้องสื่อสารด้วยความระมัดระวังโดยเลือกเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นจริงเกี่ยวกับวิธีการป้องกันวิกฤติจากเชื้อไวรัสด้วยวิธีของแบรนด์เอง อีกทั้ง 41% ของคนไทยต้องการให้แบรนด์ยืดหยัดต่อวิกฤติครั้งนี้ ด้วยการแสดงให้เห็นว่าเราจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
คันทาร์ เวิร์ลพาแนล เสริมว่าพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากตามที่เคยคาดการณ์ไว้ คนไทยมีการเดินทางไปซื้อของเพิ่มขึ้นในปริมาณที่มากขึ้น
จากผลสำรวจพบว่าคนไทยเป็นผู้บริโภคที่มีเหตุผล อีกทั้งยังเลือกซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัยมากขึ้นเช่นอาหารสดเพื่อไปทำอาหารกันที่บ้าน ซึ่งรวมไปถึงเครื่องดื่มเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ในช่วงนี้ผู้บริโภคไทยสามารถยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แม้ว่าผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายส่วนตัวมากขึ้น แต่ก็นับเป็นการสร้างโอกาสให้แก่แบรนด์ ทั้งนี้การยอมรับไม่ได้หมายความว่าแบรนด์จะต้องแข่งขันกันในเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียว เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคจะมีการตัดสินใจซื้อสินค้าจากคุณค่าของแบรนด์มากกว่าเรื่องของราคา
จากตัวอย่างการฟื้นตัวของประเทศจีนดังต่อไปนื้ทำให้แบรนด์สามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้บริโภคจะกลับมาเมื่อมาตรการปิดเมืองผ่อนคลายลง
► สตาร์บัคส์กลับมาเปิดสาขากว่า 90% จากจำนวนสาขาทั้งหมด
► 95% ของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศจีนได้กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งในสัปดาห์ที่สองของเดือนมีนาคม
► การระบาดของเชื้อไวรัสนั้นส่งผลต่อการค้าขายเกือบทั้งหมด จากตัวอย่างจากประเทศจีนคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสลดลง
► แบรนด์จะต้องทำการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นที่สนใจอยู่เสมอ และเมื่อผู้บริโภคพร้อมใช้จ่ายอีกครั้งก็จะกลับมาหาแบรนด์
► แบรนด์จะต้องปรับตัวและวางกลยุทธ์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในการบริโภคสื่อและการซื้อของผู้บริโภค
WPP AGENCIES KANTAR THAILAND, GREYnJ UNITED & MINDSHARE THAILAND PRESENT “SOCIAL DISTANCING” – THE WEBINAR ON THE IMPACT OF CORONAVIRUS IN THAILAND
At a webinar in collaboration between Kantar, GreyNJ United, and Mindshare, entitled “SOCIAL DISTANCING”, new research revealed how COVID-19 and social distancing measures are changing the way Thai people consume media, the content they consume and look for, and the way they shop.
Social media research by Kantar Insights Division broke down the evolution of the conversation from the announcement of the outbreak until now
► Conversations from the starts of 2020 focused on international response to the crisis, which progressed into more emotional reactions.
► Social distancing measure have increased 5x from the start of the year as social distancing measures were put into effect.
► 77% of Thais believe that COVID-19 will impact their day-to-day lives.
► 54% believe that this will result in an economic recession and 66% are becoming more proactive in their financial planning.
► 59% of Thais believe it will take a long time for the economy to recover and will leave long-term consequences including job losses and struggles among small to medium sized businesses.
► While Thais are anxious of the future, they are prepared and taking precautions to adjust to new way of life.
Mindshare stated that Thai have retreated indoors since the enforcement of lockdown and social distancing measure
► 50% of Thais cancelled a trip or appointment within the past week and 44% are now working from home
► As a result, exposure to print, radio, and out-of-home has decreased, while TV viewing and online, and mobile phone activities have increased.
► TV exposure is up to 2 hours and 17 minutes per day with news channels receiving the highest growth as people seek for creditable and up-to-date news on the COVID-19 situation in Thailand.
► Entertainment is the second most viewed type of content, following news.
► Thai consumers have also shown an increase in online spending across a variety of good & services, including 41% who have reported using a food delivery service in the past week.
92 % of consumers consider that brand should continue advertising
► But want brand to speak with consideration, offering practical and realistic advice on how to thwart the crisis in their own ways.
► 41% of Thais want brands to attack the crisis head-on and demonstrate that it can be fought.
Further, Kantar Worldpanel Division added that while shopping trips have been more frequent and shopping carts have increased in size, the behavioural shift is not as dramatic as expected
► This points to that Thais are rational consumers who are likely to be stocking up, instead of panic buying
► Of the items they are shopping for, there has been increased purchase of health and hygiene products, immune system boosting beverages, and home cooking ingredients.
► As evident through shopping cart analysis, Thai consumers are open to trying new products, thus creating new opportunities for brands.
► Just because Thai consumers are more wavry of their personal spending does not mean that brand must race for the lowest pricing. Consumers’ purchase decision are staked more on a brand’s value proposition, more than just simply price.
Taking China’s recovery as an example, brands can be optimistic that consumers will return when the lockdown measures are relaxed
► Starbucks has re-opened 90% of its outlets and 95% of large companies in China have resumed operations as of the second week of March.
► As greatly as the pandemic has impacted all areas of commerce, taking inspiration from China’s example, a rebound in the economy is expected when the transmission of COVID-19 is controlled.
► Brand must continue their marketing efforts to keep their brands top of mind when consumers are once again ready to spend.
► Brands must be adaptive to consumers’ shifting media and shopping behaviours to know how to adjust their strategies to Thai people’s new ways of life.
Key Speakers:
Arpapat Boonrod, Ph.D., Chief Executive Officer, Kantar Thailand – Insights Division
Kanaporn Hutcheson, Chief Executive Officer, GREYnJ UNITED
Pathamawan Sathaporn, Managing Director, Mindshare Thailand
Pablp Gomez, Chief Digital Officer, Kantar NASEAP – Insights Division
Matthew Cheung, Business Growth Director, Kantar Thailand – Worldwidepanel Division
Eric Tan, Chief Client Officer, Kantar China – Insights Division
Sathya Raju, Senior Director Engagement Excellence, Kantar NASEAP – Insights Division